“แผงโซลาร์เซลล์” เมื่อกลายเป็นขยะ จัดการอย่างไรดี?

“แผงโซลาร์เซลล์” เมื่อกลายเป็นขยะ จัดการอย่างไรดี?

“แผงโซลาร์เซลล์” ทางเลือกของคนรักษ์โลก กำลังกลายเป็นปัญหาสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม เมื่อมันกลายเป็นขยะที่หมดอายุในการใช้งานแล้ว

ปัจจุบันอัตราการผลิตและการใช้งานแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นทั่วโลก แน่นอนว่าแผงโซลาร์เซลล์ก็มีอายุการใช้งานของตัวมันเอง เมื่อถึงเวลาก็จะหมดอายุ (อายุการใช้งานประมาณ 20 – 30 ปี) หรือเสื่อมสภาพกลายเป็น “ขยะจากแผงโซลาร์เซลล์” (Solar Panel Waste) ทำให้ปัญหาของมลพิษขยะในอนาคตเป็นที่น่ากังวลอย่างมาก

แผงโซลาร์เซลล์ประกอบไปด้วยวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล มีวัสดุหลากหลายชนิด เช่น  กระจก ซิลิกอน โลหะหนัก เช่น ตะกั่วและแคดเมียม ทำให้การแยกส่วนประกอบเหล่านี้ออกจากกันเพื่อนำไปรีไซเคิล เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ยาก และมีต้นทุนสูงมาก 

ผลกะทบของ “ขยะจากแผงโซลาร์เซลล์”

หากแผงโซลาร์เซลล์ไม่ได้รับการกำจัดที่เหมาะสม หรือถูกต้อง สารเคมี เช่น ตะกั่วและแคดเมียม ที่อยู่ในตัวแผงโซลาร์เซลล์นั้นอาจรั่วไหลลงสู่ดิน และน้ำ ทำให้เกิดมลพิษี่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

การจัดการโซลาร์เซลล์ในปัจจุบัน

ปัจจุบันการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุมักจะนำไปฝังกลบ หรือเผา เนื่องจากเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ยังไม่เพียงพอ จึงทำให้อาจเกิดปัญหามลพิษตามมาในอนาคต

นอกจากนั้นการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์มีต้นทุนในการจัดการสูง การฝังกลบและการเผาจึงเป็นวิธีในการจัดการที่ดีที่สุดในตอนนี้

แนวทางในการแก้ไขปัญหาของ “ขยะจากแผงโซลาร์เซลล์”

ปัญหาของขยะจากแผงโซลาร์เซลล์นั้นควรจัดการตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการกำจัด เมื่อแผงโซลาร์เซลล์หมดอายุในการใช้งานแล้ว ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

1.ออกแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย: การผลิตในปัจจุบันจะต้องคำนึงถึงการกำจัดแผงโซลาร์เซลล์ที่จะหมดอายุการใช้งานในอนาคต ดังนั้นก่อนการผลิตจริงควรที่จะออกแบบแผงโซลาร์เซลล์ให้สามารถรีไซเคิลได้ง่าย ไม่ใช้งบประมาณที่สูงมาก

2.การรีไซเคิลที่เหมาะสม: ปัจจุบันโลกของเรามีเทคโนโลยีขั้นสูงในการรีไซเคิลเพื่อลดของเสียอิเล็กทรอนิกส์และนำวัสดุที่มีค่ากลับมาใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกครั้ง เช่น

  1. การบดและคัดแยกเชิงกล (Mechanical Shredding & Separation): ใช้เครื่องบดและเครื่องแยกแม่เหล็ก ในการแยกชิ้นส่วนของแผงออกเป็นหมวดหมู่ (แต่ต้องใช้เทคนิคอื่นร่วมด้วยเพื่อดึงโลหะที่มีค่าออกมา)
  2. เทคโนโยีไพโรไลซิส (Pyrolysis): เผาแผงที่อุณหภูมิสูงในสภาพแวดล้อมไร้ออกซิเจน เพื่อแยกสารประกอบอินทรีย์ออกจากวัสดุอินทรีย์ เช่น ซิลิกอน และโลหะ วิธีนี้ช่วยให้ลดการเกิดของเสียอันตรายและสามารถนำซิลิกอนในแผงโซลาร์เซลล์กลับมาใช้ใหม่ได้

 

การกำจัดแผงโซลาร์เซลล์ในอนาคตอันใกล้นี้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก หากจัดการไม่เหมาะสมและไม่ถูกวิธี สารเคมีที่อยู่ในแผงโซลาร์เซลล์จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างมาก หากปล่อยให้ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้น จากของที่เป็นทางเลือกในการช่วยโลก จะกลายเป็นของที่ทำลายโลกเสียเอง

 

ที่มา

posttoday.com

onemorelink.co.th