เราจะพบไมโครพลาสติกในร่างกายส่วนไหนบ้าง?

เราจะพบไมโครพลาสติกในร่างกายส่วนไหนบ้าง?

ปัจจุบันไมโครพลาสติกกระจายตัวไปยังสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของโลกใบนี้ รวมถึง “ร่างกายของมนุษย์” ด้วย จึงทำให้เป็นที่กังวลอย่างมากว่า ไมโครพลาสติกที่อยู่ในร่างกายมนุษย์นั้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่?

ไมโครพลาสติกคืออะไร?

ไมโครพลาสติก คือ อนุภาคพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร มักเกิดจาดการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติกขนาดใหญ่หรือเกิดจากพลาสติกที่มีการสร้างให้มีขนาดเล็ก เพื่อให้เหมาะกับวัตถุประสงค์การใช้งาน ส่วนใหญ่มีรูปร่างทรางกลม ทรงรี เส้นตรง หรือมีรูปร่างที่ไม่แน่นอน โดยไมโครพลาสติกสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

1.ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (Primary microplastic)

ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ คือ พลาสติกที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาให้มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลเมตรเพื่อใช้ประโยชน์เฉพาะด้าน เช่น นำมาใช้เป็นวัสดุในการตั้งต้นของการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติกที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า เครื่องสำอางหรือยาสีฟัน ที่เราอาจจะคุ้นชินนั้นก็คือ “ไมโครบีดส์” (Microbeads) ซึ่งไมโครพลาสติกประเภทนี้สามารถแพร่กระจายลงสู่ทะเล จากการทิ้งของเสียโดยตรงจากบ้านเรือน

2.ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ (Secondary microplastic)

ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ คือ พลาสติกที่เกิดจากกระบวนการสลายตัวของพลาสติกขนาดใหญ่จนกลายเป็นชิ้นส่วน เส้นใย หรือแผ่นฟิล์ม ของพลาสติกที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งกระบวนการในการสลายตัวจากพลาสติกชิ้นใหญ่เป็นชิ้นเล็กนั้น เกิดได้จากการย่อยสลายทางกล เคมี ชีวภาพ และการย่อยด้วยแสง โดยกระบวนการเหล่านี้จะทำให้สารแต่งเติมในพลาสติกหลุดออกมา ทำให้พลาสติกเกิดการแตกตัวจนเป็นขนาดเล็ก โดยไมโครพลาสติกนั้นนอกจากจะปะปนไปกับสิ่งแวดล้อมแล้วก็ยังแพร่กระจายสู่ร่างกายมนุษย์เช่นกันเนื่องจากได้มีการวิจัยออกมาเผยแพร่แล้วว่า “พบพลาสติกอยู่ในร่างกายมนุษย์” และยังแพร่กระจายไปยังหลายส่วนของร่างกายอีกด้วย

3.ไมโครพลาสติกในเลือด

ไมโครพลาสติกในเลือดนั้นถูกตีตั้งแต่ปี 2022 ผ่านทางวารสาร Environment International โดยที่นักวิทยาศาสตร์ได้พบอนุภาคไมโครพลาสติกในตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครวับผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพที่ดีในประเทศเนเธอร์แลนด์ทั้งหมด 22 คน แต่พบไมโครพลาสติกในเลือดไปแล้ว 17 คน

4.ไมโครพลาสติกในรก

เมื่อปี 2021 ที่ป่านมาได้มีการตีพิมพ์จากวารสาร Environment International โดยภายในวารสารได้เผยว่าทีมนักวิจัยจาก Raman Microspectroscopy ได้วิเคราะห์รกของสตรีทั้ง 6 คน เพื่อประเมินการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในรก พบว่ามีชิ้นส่วนของไมโครพลาสติกในทารกในครรภ์ 5 ชิ้น ในมารดา 4 ชิ้น และในเยื่อหุ้มเซลล์น้ำคร่ำ 3 ชิ้น รวมทั้งหมด 12 ชิ้น

 5.ไมโครพลาสติกในน้ำนม

ในปี 2022 วิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Polymers ได้เปิดเผยว่า พบไมโครพลาสติกในน้ำนมแม่เป้นครั้งแรก ไมโครพลาสติกที่ถูกพบนั้นประกอบไปด้วยโพลีเอทิลีน พีวีซี และโพลีโพรพีลีน ซึ่งก็เป็นที่น่ากังวลว่าอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับทารก

6.ไมโครพลาสติกในตับ

ทีมนักวิจัยของสหรัฐอเมริกาทำการวิเคราะห์ตัวอย่างเนื้อเยื่อของตับจากอาสาสมัครทั้งหมด 17 ราย ทั้งผู้ป่วยตับแข็งและผู้ที่มีสุขภาพดี ซึ่งในปี 2022 ได้พบว่ามีไมโครพลาสติกอยู่ในเนื้อเนื้อเยื่อตับของมนุษย์โดยไมโครพลาสติกที่พบมีพอลิเมอร์ที่แตกต่างกันถึง 6 ชนิดในตับของบุคคลที่เป็นโรคตับแข็ง ต่างกับผู้ที่มีสุขภาพดีที่มีไม่ครบทุกชนิด

7.ไมโครพลาสติกในปอด

การตีพิมพ์ของ Science of The Total Environment ในปี 2022 มีการอธิบายว่า ค้นพบไมโครพลาสติกในเนื้อเยื่อปอดของมนุษย์ที่ยังมีชีวินตอยู่เป้นครั้งแรก ซึ่งข้อมูลนี้มาจากการทดลอง โดยจากปอดของผู้ป่วยทั้ง 13 ตัวอย่าง พบว่ามี 11 ตัวอย่างปอดที่พบไมโครพลาสติกประเภท PET

8. ไมโครพลาสติกในอัณฑะ

นิตยสาร Toxicological Science ได้ระบุว่า พบไมโครพลาสติกแทรกอยู่ในเนื้อเยื่ออัณฑะทั้งของมนุษย์และสุนัข โดยคาดว่าไมโครพลาสติกเหล่านี้สามารถเชื่อมดยงไปสู่ปัญหาการเจริญพันธุ์ของบุรุษเพศได้

9.ไมโครพลาสติกในหัวใจและหลอดเลือด 

จากงานวิจัยของ ดร.ราฟฟาเอล มาร์เฟลลาจากมหาวิทยาลัยกัมปาเนีย ในอิตาลี พบว่า 58% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาหลอดเหลือแดงคาโรติค มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กระดับไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก โดยเฉพาะพลาสติกแบบพลีเอทีลีน (PE) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ปะปนอยู่ในหลอดเลือด

10.ไมโครพลาสติกในอสุจิ

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชิงเต่า ได้ออกมาเปิดเผยว่าค้นพบไมโครพลาสติกขนาดเล็กที่มช้ในการผลิตท่อพีวีซีและแผ่นโฟม และทำให้เกิดมะเร็ง 8 ชนิด ซึ่งผลการทดลองนี้ได้มีการนำตัวอย่างน้ำอสุจิของผู้ชายที่เข้าทดสอบทั้งหมด 36 คน

 

แล้วไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้อย่างไร?

ไมโครพลาสติกสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้จากการรับประทาน และการสูดดม อาหารที่รับรับประทานเข้าไปก็อาจจะมีไมโครพลาสติกแทรกซึมหรือปะปนเข้าไป การที่เรารับประทานอาหารเหล่านั้นก็อาจจะทำให้ไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายของเราได้ แม้ผลวิจัยจะไม่สามารถยินยันได้อย่างชัดเจนว่าไมโครพลาสติกจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเรา แต่นักวิทยาศาสตร์ก็มีความกังวลว่าไม่วันนี้ก็วันหน้าไมโครพลาสติกอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์

 

ที่มา

springnews.co.th

bangkokbiznews.com

petromat.org