พบผู้ป่วยฝีดาษลิง! (MPOX) ในไทย คาดเป็นสายพันธุ์รุนแรง Clade 1B

พบผู้ป่วยฝีดาษลิง! (MPOX) ในไทย คาดเป็นสายพันธุ์รุนแรง Clade 1B

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ ธงชัย กีรติหัตถยากร ได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่า การแถลงข่าวในวันนี้ไม่ได้เป็นการยืนยันว่า มีการพบผู้ป่วยฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1B แต่ผู้ป่วยชายรายนี้เป็นเพียง “ผู้ป่วยสงสัย”

 

ก่อนหน้านี้ทางประเทศฟิลิปปินส์ก็พบผู้ป่วยที่ติดเชื้อรายแรกหลังจากเดือนธันวาคมเม่อปีที่แล้ว และทางองค์การอนามัยโลก (World Heath Organisation – WHO) ได้ประกาศว่า การระบาดของโรคฝีดาษลิงหรือ MPOX สายพันธุ์ Clade 1B เป็น “ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ” และในตอนนี้กลายเป็นความน่ากังวลสำหรับนานาชาติแล้ว เนื่องจากมีการพบผู้ป่วยฝีดาษลิงสูงอย่างต่อเนื่อง

 

โดยผู้ป่วยที่คาดว่าเป็นฝีดาษลิงสายพันธุ์รุนแรงนั้น เป็นชายอายุ 66 ปี เดินทางมาจากประเทศแถบแอฟริกาที่พบการระบาดของฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 1B ก่อนเดินทางมาประเทศไทยในวันที่ 14 สิงหาคม ที่ผ่านมา เวลาที่มาถึงประเทศไทยประมาณ 18.00 น. และในันที่ 15 สิงหาคม ผู้ป่วยมีตุ่มขึ้นเล็กน้อยตามผิวกาย และมีไข้ แพทย์จึงตรวจดูอาการและซักประวัติพบว่าผู้ป่วยรายนี้ผ่านการตรวจฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 2 แล้วผลเป็นลบ แต่การตรวจสายพันธุ์ Clade 1B พบว่าผลตรวจยังไม่ชัดเจน แต่จากการตรวจยืนยันนั้นปรากฏว่าเป้นฝีดาษลิงจริงแต่ยังไม่ใช่สายพันธุ์  Clade 2 และสายพันธุ์ Clade 1B ก็ยังไม่ชัดเจน จึงต้องมีการไล่ยีนส์ แบบ PT-PCR ตรวจซ้ำอีกที

 

ฝีดาษลิงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์แอฟริกากลาง (Clade 1) และสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก (Clade 2) ซึ่งสายพันธุ์แอฟริกากลางจะมีการติดเชื้อรุนแรงกว่าและอาจแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่า

 

เบื้องต้นผู้ป่วยอยู่ในการดูแลของแพทย์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และยังไม่มีอาการรุนแรง แต่ก็ยังคงเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด  และประชาชนสามารถป้องกันฝีดาษลิงได้ดังนี้

 

1.สวมหน้ากากอนมัย

2.ล้างมือให้บ่อย

3.หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก

4.ระวังสัตว์กัดหรือข่วน

5.ไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น

6.ไม่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยฝีดาษลิง

7.หลีกเหลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก