ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ยกทฤษฎีไม้เสียบลูกชิ้น ร่าง พรบ.กากอุตสาหกรรมและปัญหาที่เกี่ยวข้อง

ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ยกทฤษฎีไม้เสียบลูกชิ้น ร่าง พรบ.กากอุตสาหกรรมและปัญหาที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 ดร.อรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ประธานที่ปรึกษาของรมว.อุตสาหกรรมเข้าร่วมประชุมสามัญประจำปี 2568 กลุ่มอุตสาหกรรมกากจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม (FIT) เรื่อง พรบ.กากอุตสาหกรรมและปัญหาที่เกี่ยวข้อง ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดยกล่าวว่าในปัจจุบันทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้มีการร่างพรบ.การกากอุตสาหกรรมและปัญหาที่เกี่ยวข้องนี้ เพื่อปฏิรูปกฎหมายอุตสาหกรรม เกณฑ์มาตรฐานของสิ่งแวดล้อม และสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมและภาคครัวเรือนเช่น สายไฟ แผงวงจร ร่วมถึงซากรถยนต์ ก็จะนำเข้านิยายเดียวกับกากอุตสาหกรรมด้วย โดยพรบ.ฉบับนี้จะมีความเข้มข้นขึ้นจากเดิม โดยยกทฤษฎีไม้เสียบลูกชิ้น ดร.อรรถวิชช์ ก็จะใช้ในการบูรณาการกันให้ทะลุทะลวงแต่ละเรื่องให้สอดคล้องกันจากต้นทางไปจนถึงปลายทางการรับกำจัด

โดยหากมีการนำพรบ.นี้มาบังคับใช้แล้วในการจัดการ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ที่มาจากครัวเรือนก็จะมีแค่การเก็บรวบรวมได้อย่างเดียวหากจะมีการแกะต้องส่งต่อไปยังโรงงานรับกำจัดอย่างถูกต้อง โดยทางกระทรวงอุตสาหกรรมเราจะมองที่ปลายทางเพราะคนที่ต้องกำจัดคือเรา โดยใบอนุญาต โรงงงาน 101 105 และ 106  จะออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นถ้าเราเปลี่ยนแปลง พรบ. เราจะได้ดูถึงตอนจบของกากอุตสาหกรรมพวกนี้ทุกตัวเพื่อทำให้เกิดมาตรฐานที่ชัดเจนในการกำจัดอย่างถูกต้อง

โดยกฎหมายฉบับนี้ก็จะมีการห้ามนำเข้ากากอุตสาหกรรมเลยเว้นแต่จะเป็นการนำมาทำเป็นวัตถุดิบเพียงเท่านั้นและหากยังมีการกระทำผิดเราก็จะมีโทษ จำคุก 10 ปี 

โดยปัจจุบันการลักลอบนำเข้ากากอุตสากรรมนี้จะเป็นหน้าที่ของกรมศุลกากรเข้าไปยึดแต่ในอนาคตนี้จะไม่ใช่แล้วแต่จะเป็นหน้าที่รับผิดชอบของกระทรวงอุตสาหกรรมในการเข้าไปดูแลโดยตรงซึ่งจะได้เพิ่มความรวดเร็วในการจัดการทั้งการผลักดันออกนอกประเทศหรือไม่ก็ทำลายเลย

และเราจะมีการจัดตั้งกองทุนชื่อว่ากองทุนอุตสาหกรรมยั่งยืน ที่จะเข้ามาจัดการดูแลเรื่องผลกระทบต่างๆที่เกิดจากการลักลอบทิ้งที่ผิดกฎหมายนี้ให้รวดเร็วขึ้นลดผลกระทบที่จะเกิดได้เร็วขึ้น โดยเงินส่วนนี้จะมาจากทุนประกันของโรงงานต่างๆและหากโรงงานไหนมีปัญหาก็จะนำเงินนี้ไปใช้จัดการก่อนและนำมาคืนในภายหลัง ถ้ากฎหมายฉบับนี้บังคับใช้ไปก็จะช่วยลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง ตามทฤษฎีไม้เสียบลูกชิ้น ที่ดร.อรรถวิชช์ ยกมาใช้